งา


 
 
            เป็นพืชล้มลุก สูงประมาณ 1 เมตร ต้นตั้งตรง ใบเดี่ยวเรียวปลายแหลม ลำต้นและใบมีขนปกคลุม ดอกเดี่ยว สีขาวอมม่วง ผลคล้ายผลโกโก้ เท่าปลายนิ้วก้อย เมล็ดรูปไข่เล็กๆ เนื้อชุ่มน้ำมัน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 122) สำหรับงาขี้ม้อน เป็นงาที่มีลักษณะเมล็ด กลมทั้งเมล็ด สีน้ำตาลหม่น คล้ายสีดำแดงปนกัน บางที่เรียก งาแดง-ดำ (ต้อมจิตร บุญแผ่ผล, 2542, 1367)
 
        
            เมล็ดงา มีโปรตีน 18-25 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่น้ำมันงามีโปรตีน 40-50 เปอร์เซ็นต์ และเป็นน้ำมันชนิดที่ม่อิ่มตัวสูงถึง 85 เปอร์เซ็นต์ ในน้ำมันงา มีสารป้องกันการเหม็นหืนสูง ชาวล้านนาใช้เมล็ดงาดำ โรยบนข้าวเกรียบแบบล้านนา ที่เรียกว่า ข้าวแคบ เพื่อให้รสชาติดีขึ้น ใช้งาขี้ม้อน หรืองาหม่น ในการทำข้าวหนุกงา (ข้าวคลุกงา) คั่วแล้วผสมกับมะพร้าว ทำไส้ขนมจ็อก หรือนำมาตำกับน้ำอ้อย เรียกว่า งาตำอ้อย (งาต๋ำอ้อย) (ต้อมจิตร บุญแผ่ผล, 2542, 1367-1368)
        
เมล็ด รสฝาดหวานขม ทำให้เกิดกำลัง ให้ความอบอุ่นแกร่างกาย แต่ทำให้ดีกำเริบ น้ำมัน รสฝาดร้อน ทำน้ำมันใส่แผล (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 122)
กระปรี้กระเปร่า ป้องกันโรคเหน็บชา บำรุงกระดูก ป้องกันอาการท้องผูก ลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดบรรเทาอาการริดสีดวงทวาร และช่วยบำรุงรากผม

ข้อบ่งใช้ทางเภสัชกรรมล้านนา ใช้รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ (จีรเดช มโนสร้อย และอรัญญา มโนสร้อย, 2537, 68)
 
 
 
            

จีรเดช มโนสร้อย และอรัญญา มโนสร้อย. (2537). เภสัชกรรมล้านนา: ตำรับยาสมุนไพรล้านนา. กรุงเทพฯ : สถาบันการแพทย์แผนไทย.

ต้อมจิตร บุญแผ่ผล. (2542). งา. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ (เล่ม 3, หน้า 1367-1368). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2540). สารานุกรมสมุนไพร: รวมหลักเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.