มะพร้าว


 
            บ่าป๊าว มะป๊าว (ภาคเหนือ), พร้าว (ภาคใต้) หมากพร้าว หมากอูน หมากอู๋น, ดุง (ชอง-จันทบุรี) เฮ็ดดุง (เพชรบูรณ์) คอส่า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) โพล(กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ย่อ (มลายู-ภาคใต้) (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2542, 201)
 
            เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นสูงชะลูด ประมาณ 20-30 เมตร ไม่แตกกิ่งก้านสาขา ใบ เป็นใบรวม มีใบย่อยเรียงสลับกันเป็นรุปขนนก ใบย่อยมีลักษณะแคบยาว ปลายใบแหลม พื้นผิวเรียบเป็มัน สีเขียวแก่ ขนาดของใบยาวประมาณ 2-3 ฟุต กว้างประมาณ 1-2.5 นิ้ว ดอก ออกเป็นช่อ ตามบริเวณกาบที่หุ้ม ดอกย่อยมีขนาดเล็ก ดอกหนึ่งมีกลีบ 6 กลีบ ในช่อหนึ่ง มีดอกตัวผู้และตัวเมีย ดอกตัวผู้จะอยู่ปลาย ดอกตัวเมียอยู่บริเวณโคนช่อดอก ผล เป็นรูปทรงกลม หรือรูปรี เปลือกนอกเรียบเกลี้ยง ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่สีน้ำตาล เปลือกชั้นกลางเป็นเส้นใยนุ่ม ชั้นในแข็งเป็นกะลา ชั้นในต่อไปเป็นเนื้อผลสีขาวนุ่ม ภายในมีน้ำใส (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2542, 201)
 
        
            มะพร้าว 100 กรัม ให้พลังงานแก่ร่างกาย 55 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย โปรตีน 1.6 กรัม ไขมัน 2.0 กรัม คาร์โบไฮเดรต 7.7 กรัม แคลเซียม 13 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 173 มิลลิกรัม เหล็ก 1.0 มิลลิกรัม วิตามินเอ 25 หน่วย วิตามินบี 1 0.06 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.04 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.3 มิลลิกรัม และวิตามินซี 4 มิลลิกรัม (ปรียา ไตรรัตน์ณรงค์, 2547, 103) ข้อมูลทางอาหาร ใช้ยอดอ่อน ผัด แกง ผลอ่อน กินได้ทั้งผลสด หรือนำมาเผา ทำห่อหมกมะพร้าวอ่อน จั่น (ช่อดอก) เมื่อตัดปลายงวง จะได้น้ำหวานทำน้ำตาลปี๊บ ส่าเหล้า และน้ำส้ม น้ำมะพร้าว รับประทานสด ทำเนยเทียม น้ำมันมะพร้าวใช้ปรุงอาหาร เนื้อมะพร้าวคั้นน้ำกะทิใช้เป็เครื่องปรุงแกง ทำขนม ทำน้ำมันมะพร้าว (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2542, 201) ชาวล้านนา ใช้ยอดอ่อนมาปรุงเป็นแกงออกป๊าว
        
เปลือกต้นสด นำมาเผาไฟให้เป็นเถ้า แก้ปวดฟัน ทาแก้หิด เนื้อมะพร้าวสดหรือแห้งขูดให้เป็นฝอย เคี่ยวเอาน้ำมัน รับประทานเป็นยาบำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ ขับพยาธิ แก้ไข น้ำมะพร้าว รับประทานเป็นยา ระบาย แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ แก้พิษ แก้กระหายน้ำ แก้นิ่ว แก้อาเจียนเป็นโลหิต น้ำมันที่ได้จากเนื้อหรือกะลา ทาแผลน้ำร้อนลวก เป็นยาบำรุงกำลัง (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2542, 201)
 
            ตลอดปี
 
 
            

กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม. (2542). ผักพื้นบ้านภาคกลาง. กัญจนา ดีวิเศษ บรรณาธิการ. นนทบุรี: โครงการพัฒนาตำรา สถาบันการแพทย์แผนไทย.

ปรียา ไตรรัตน์ณรงค์. (2547). คัมภีร์ แพทย์สมุนไพร ผลไม้ สมุนไพรและพืชผักสวนครัว. กรุงเทพฯ: One World.