ผักชีลาว


 
            ผักชีเดือนห้า ผักจี (ภาคเหนือ) (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 1881, 2889)
 
            เป็นพืชจำพวกต้นขนาดเล็ก สูง 2-5 ฟุต ลำต้นตรง ใบเล็กฝอย ดอกช่อ คล้ายดอกผักชี เมล็ดสีเหลืองคล้ายข้าวเปลือก แต่เล็กว่าเล็กน้อย เป็นพืชดั้งเดิมแถบเมอร์ดิเตอเรเนียน (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 238) เมล็ดเรียกว่า เทียนข้าวเปลือก เทียนหวาน (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 238) เทียนแกลบ หรือเตียนแกบ (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 1881, 2889)
 
        
            ไม่มีข้อมูลสารอาหาร ข้อมูลทางอาหาร ต้นเทียนข้าวเปลือก มีกลิ่นหอม ใช้แต่งกลิ่นซุป อาหารประเภทเนื้อ ซอส ขนมปัง ขนมหวาน นกอจากนี้ ใช้แต่งกลิ่นเหล้าและผักดอง (เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, บรรณาธิการ, 2548, 117) สำหรับชาวล้านนา เมล็ดเทียนข้าวเปลือก ใช้เป็นส่วนผสมของพริกลาบ หรือน้ำพริกลาบ (ประธาน นันไชยศิลป์, 2550, สัมภาษณ์) ใบและยอดอ่อน ของต้น ที่เรีกว่า ผักชีลาวนั้น ใช้เป็นผักสดจิ้มน้ำพริก ลาบเนื้อสัตว์ต่างๆ ยำต่างๆ (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 2990; ประธาน นันไชยศิลป์, 2550, สัมภาษณ์)
        
เมล็ด รสหวานเผ็ด หอม บำรุงกำลัง ขับผายลม แก้เส้นศูนย์กลางท้องพิการ แก้ชีพจรอ่อน หรือพิการ แก้นอนสะดุ้ง (โทษน้ำดี) แก้คลั่ง (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 238)
 
 
 
            

ประธาน นันไชยศิลป์. (2550). สัมภาษณ์. 3 กรกฎาคม.

เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, บรรณาธิการ. (2548). เครื่องปรุงในอาหารไทย. นนทบุรี: ศูนย์พัฒนาตำราการแพทย์แผนโบราณ.

รัตนา พรหมพิชัย. (2542). ชี, ผัก. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ (เล่ม 4, หน้า 1880-1881). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

. (2542). เทียนแกลบ. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ (เล่ม 6, หน้า 2889-2990). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2540). สารานุกรมสมุนไพร: รวมหลักเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.