ผักจ้ำ


 
            กลึงกล่อม มะจ้ำ ผักจ้ำ กำจาย (ภาคเหนือ) มงจาม (อ่างทอง) ผักจ้ำ น้ำน้อย (เลย) น้ำนอง (ปัตตานี) ท้องคลอง (ราชบุรี) ชั่งกลอง (ราชบุรี) ช่องคลอง (กาญจนบุรี) จิงกล่อม (ภาคใต้) ไคร้น้ำ (อุตรดิตถ์) กระทุ่มกลอง กำจาย (นครสวรรค์) กระทุ่มคลอง (สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2550; วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 116) กำจายต้น ท้องคลอง (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 116)
 
            เป็นไม้พุ่มขนาดย่อม สูง 2-4 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลแดง เป็นร่องๆ เหมือนรางแดง ใบเดี่ยว รูปใบหอกแกม ปลายและโคนแหลม ยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร ดอกเดี่ยวๆ สีเหลืองนวล กลีบนอกสีน้ำตาลแดง ออกตามง่ามใบ ผลกลุ่ม เป็นผลกลุ่ม ทรงกลม ผลย่อยกลม มีก้านคล้ายคล้องตีกลอง เดตามริมแม่น้ำลำธารทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 116)
 
        
            ไม่มีข้อมูลสารอาหาร ทางอาหารสำหรับชาวล้านนานั้น นิยมนำผักจ้ำมาเป็นส่วนผสมของอาหารประเภทส้า เช่น ส้าผักรวม ส้าผัก เป็นผักสดจิ้มน้ำพริก หรือลาบ (ศรีวรรณ จำรัส, 2550, สัมภาษณ์)
        
ใบและกิ่ง พบสาร suberosol ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV ที่เป็นสาเหตุของโรคเอดส์ในหลอดทดลอง
รากและเนื้อไม้ ต้มดื่มแก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้น้ำเหลืองเสีย ขับพิษภายใน
(วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 116)
 
 
 
            

วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2540). สารานุกรมสมุนไพร: รวมหลักเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ศรีวรรณ จำรัส. (2550). สัมภาษณ์. 18 มิถุนายน.

สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. กลึงกล่อม. ฐานข้อมูลสมุนไพร. ค้นวันที่ 15 กันยายน 2550 จาก http://thaiherb.most.go.th/plantdetail.php?id=47