หน่อไม้รวก


 
            ตีโย ไผ่รวก ไม้รวก รวก (ภาคกลาง) ฮวก (ภาคเหนือ) ว่าบอบอ แวปั่ง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) แวบ้าง (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) สะลอม (ซาน-แม่ฮ่องสอน)
 
            ต้น ไม้ไผ่ขึ้นเป็นก่อแน่นลำสูง 7-15 เมตร ลำตรง เปลา มีกิ่งเรียวเล็กๆ ตอนปลายๆ ลำส่วนมากจะโต มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-6 ซม. ค่อนข้างเรียบมีวงใต้ข้อสีขาว ธรรมดากาบหุ้มลำต้นอยู่นาน ลำมีสีเขียว อมเทาปล้องยาว 15-30 ซม. โดยปกติเนื้อหนา ส่วนโคนมีเนื้อหนาเกือบตัน กาบหุ้มลำต้น ยาว 22-28 ซม. กว้าง 11-20 ซม. กาบมักติดต้นอยู่นานสีฟางบางอ่อน ด้านหลังปกคลุมด้วยขนอ่อนสีขาวมีร่องเป็นแนวเล็กๆ สอบเล็กน้อยขึ้นไปหาปลายซึ่งเป็นรูปที่ตัดกับลูกคลื่น ครีบกาบมีรูปสามเหลี่ยมอาจจะเห็นไม่ชัดก็ได้หรือเล็กมาก กระจังกาบมีเล็กน้อยและหยักไม่สม่ำเสมอ มีขนละเอียดเล็กน้อยใบยอดกาบ 10-12 ซม. เป็นรูปสามเหลี่ยม มุมแหลมยาวและแคบ ขอบงอโค้งเข้า ใบ รูปใบจะเป็นรูป (linear – lanceolate) ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเกือบกลมผิวใบทั้งสองด้านไม่มีขนกว้าง 0.6-1.2 ซม. เส้นลายใบมี 3-5 (ข้างละ) ขอบใบคายคม ก้านใบสั้นยาวประมาณ 2 มม. ครีบหรือหูใบไม่มี กระจังใบเรียว ขอบเรียบสั้น กาบหุ้มใบข้างนอกไม่มีขนหรือมีขนอ่อนสีขาวปกคลุม ปลายตัดหรือป้านไม่มีขนแต่พองโตกว่าส่วนอื่นบ้าง
 
        
            คาร์โบไฮเดรต เส้นใย แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินบี 1 วิตามินบี 2
        
ใบ ขับปัสสาวะ ขับและฟอกโลหิตระดูที่เสีย แก้มดลูกอักเสบ ตา แก้ร้อนในกระหายน้ำ ราก ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ
 
            ฤดูฝน เดือนมิถุนายน –กันยายน
 
 
            

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2550). ผักพื้นบ้าน. ค้นวันที่ 10 มิถุนายน 2550 จากhttp://singburi.doae.go.th/acri