ผักกาดกวางตุ้ง


 
            ผักกาดขาวกวางตุ้ง ผักกาดใบ ผักกาดเขียวกวางตุ้ง ผักกาดเขียว ผักกาดดำ ผักกาดโป้ง (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2550) ผักกาดตุ้ง (เชียงใหม่ เรียกเมื่อผักยังไม่ออกดอก) ผักกาดจ้อน ผักกาดดอก (ภาคเหนือ เรียกเมื่อผักออกดอก)
 
            ต้น เป็นพืชล้มลุกฤดูเดียว ลำต้นสีเขียวอ่อนอวบน้ำ แตกแขนงเล็กน้อย ความสูง 25-40 ซม. ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับลักษณะกลมรี ปลายใบป้าน โคนใบสอบเข้าหาโคนก้านใบ ความกว้าง 5-15 ซม. ยาว 15-30 ซม. เส้นกลางใบสีเขียวออกขาว ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด มีแขนงช่อดอกมาก ดอกเป็นดอกเดี่ยว กลีบดอกสีเหลืองมี 4-5 กลีบ ขนาดดอก 0.5-1.0 ซม. ผล เป็นฝักกลมยาว ปลายฝักแหลมสีเขียวอ่อนถึงเข้ม ความยาว 3-5 ซม. ภายในมีเมล็ด 2 แถว เรียงตลอดฝัก มีเมล็ดจำนวนมาก 20-40 เมล็ดต่อฝัก(กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2548, 103)
 
        
            แคลเซียม เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินซี (ผักพื้นบ้าน อาหารไทย, 2550, 68) โดยเฉพาะวิตามินซีและเบต้าแคโรทีนมีสูง การกินสดๆ ได้ประโยชน์สูงสุด หากนำไปปรุงสุกด้วยความร้อน ควรลวกหรือผัดเร็วๆ (ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์, 2547, 26). ทางอาหาร ชาวล้านนา นิยมนำต้นอ่อน ก่อนที่จะออกดอก เป็นส่วนผสมของส้าผัก ปรุงเป็นแกง คือแกงผักกาด สำหรับแกงผักกาด นิยมใส่ผลมะแขว่นดิบหรือแห้ง (ผลกำจัด) เพื่อให้มีกลิ่นหอม รสชาติชวนรับประทานยิ่งขึ้น ส่วนผักกาดที่ออกดอกแล้ว เรียกว่า ผักกาดจ้อน หรือผักกาดดอก นำมาทำเป็นจอผักกาด นิยมใส่น้ำมะขามดิบ หรือน้ำมะขามเปียก (ศรีวรรณ จำรัส, 2550, สัมภาษณ์; อัมพร โมฬีพันธ์, 2550, สัมภาษณ์)
        
แก้ไอ ช่วยขับเสมหะ (ผักพื้นบ้าน อาหารไทย, 2550, 68)
 
            ตลอดปี
 
 
            

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2550). ผักพื้นบ้าน. ค้นวันที่ 10 มิถุนายน 2550 จากhttp://singburi.doae.go.th/acri

กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม. (2548). ผักพื้นบ้านภาคเหนือ. เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: ศูนย์พัฒนาตำราการแพทย์แผนไทย.

ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์. (2547). สารานุกรมผัก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: แสงแดด.

ผักพื้นบ้าน อาหารไทย. (2548). กรุงเทพฯ: แสงแดด.

ศรีวรรณ จำรัส. (2550). สัมภาษณ์. 18 มิถุนายน.

อัมพร โมฬีพันธ์. (2550). สัมภาษณ์. 26 มิถุนายน.