สะระแหน่


 
            หอมด่วน ผักด่วน (ภาคเหนือ) (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 7527) สะระแหน่สวน (ภาคกลาง) (เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ และกัญจนา ดีวิเศษ, บรรณาธิการ, 2542, 214)
 
            ต้น เป็นพืชล้มลุกหลายปี ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาเลื้อยไปตามดิน มีขนสั้นนุ่มปกคลุมทั่วไป ส่วนของลำต้นมีกลิ่นหอม ใบ ใบออกตรงข้ามเป็นคู่สลับกัน ก้านใบสั้น ใบรูปไข่ ปลายใบกลมมน ขอบใบจักแบบซี่ฟันผิวใบเป็นคลื่นมีกลิ่นหอม (เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ และกัญจนา ดีวิเศษ, บรรณาธิการ, 2542, 214)
 
        
            โปรตีน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินซี ไธอามิน ไนอาซิน ไรโบฟลาวิน (ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง, 2550, 82) ข้อมูลทางอาหาร ชาวล้านนา นิยมใช้แต่งกลิ่นอาหาร เช่น ใส่ตำบ่าเขือ ใส่ยำต่าง ๆ เช่น ยำจิ๊นไก่ ยำกบ และใช้เป็นผักสดกินกับอาหารจำพวกน้ำพริกหรือยำต่าง ๆ (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 7527) ทั่วไป รับประทานเป็นผักสดแกล้มน้ำพริก พล่า ยำ ช่วยดับกลิ่นคาว แต่งกลิ่นให้หอม ส่วนอาหารอิสลาม มักจะนำใบมาทอด เพื่อปรุงแต่งกลิ่นและรสให้อร่อย เช่น ข้าวหมกไก่ ข้าวหมกแพะ (เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ และกัญจนา ดีวิเศษ, บรรณาธิการ, 2542, 214)
        
ใบ ขับเหงื่อ แก้หืด แก้ปวดท้อง ขับลมในกระเพาะลำไส้ แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อ พอก หรือทาแก้ปวมบวม ผื่นคัน (เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ และกัญจนา ดีวิเศษ, บรรณาธิการ, 2542, 214)

 
            ตลอดปี
 
 
            

ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง. (2550). กรุงเทพฯ: บริษัท ฟ้าอภัย จำกัด.

เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ และกัญจนา ดีวิเศษ, บรรณาธิการ. (2542). ไม้ริมรั้ว: สมุนไพรกับวัฒนธรรมไทย ตอนที่ 2. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์แผนไทย.

รัตนา พรหมพิชัย. (2542). หอมด่วน. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ (เล่ม 14, หน้า 7527). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.