ผักไผ่


 
            ผักไผ่ ผักไฝ่ (ภาคเหนือ) หอมจันทร์ (อยุธยา) (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 4147) พริกบ้า (ภาคกลาง) จันทร์แดง (นครศรีธรรมราช) ผักแพรว (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2548, 127)
 
            ต้น เป็นไม้ล้มลุกปีเดียว สูง 30 - 35 เซนติเมตร ลำต้นทอดเลื้อยไปตามพื้นดินและมีรากงอกออกตามส่วนที่สัมผัสกับดิน ใบ ใบรูปหอก ขอบใบเรียบ ปลายแหลม ฐานใบรูปลิ่ม ใบกว้าง 2.5-3 เซนติเมตร ยาว 5.5 - 8 เซนติเมตร ดอก เป็นดอกช่อ ดอกย่อยขนาดเล็กสีขาวนวลหรือสีชมพูม่วง ผล ขนาดเล็กมาก (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2548, 127)
 
        
            ฟอสฟอรัส แคลเซียม ธาตุเหล้ก วิตามินเอ บี 1 บี 2 วิตามินซี ไนอาซิน (ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง, 2550, 59) ข้อมูลทางอาหารนั้น ชาวล้านนานิยมเก็บยอดอ่อนและใบเป็นผักสด เป็นผักจิ้ม หรือเครื่องเคียงหรือซอยใส่อาหารประเภทลาบ หลู้ทุกชนิด และยำต่างๆ ที่เป็นยำเนื้อสัตว์ เช่น ยำจิ๊นไก่ ยำกบ (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 4147; ประธาน นันไชยศิลป์, 2550, สัมภาษณ์)
        
ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร ใบ คั้นผสมกับแอลกอฮอล์ แก้กลากเกลื้อนผื่นคัน (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2548, 127)
 
            ตลอดปี
 
 
            

กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม. (2548). ผักพื้นบ้านภาคเหนือ. เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: ศูนย์พัฒนาตำราการแพทย์แผนไทย.

ประธาน นันไชยศิลป์. (2550). สัมภาษณ์. 3 กรกฎาคม.

ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง. (2550). กรุงเทพฯ: บริษัท ฟ้าอภัย จำกัด.

รัตนา พรหมพิชัย. (2542). ไผ่, ผัก. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ (เล่ม 8, หน้า 4717). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.