ผักโขม


 
            ผักโขมขาว ผักขมจีน ผักโขมสี ผักโขมหนาม ผักโหมใหญ่ ผักโหมหนาม ผักหมพร้าว ผักขมเกี้ยว ผักโหมป๊าว ผักขมใบใหญ่ (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2550) วัชพืชหมู วัชพืชซุ่มซ่าม (ผักพื้นบ้าน อาหารไทย, 2548, 74) ผักขม ผักโหม ผักหม
 
            ผักโขม มี 3 ชนิด คือผักโขมจีน มีใบสีเขียวแก่ มีลายเส้นเลือดแดง ผักโขมสวน ใบเป็นสีเขียวอ่อน ก้านใบผอมยาว เป็นพันธุ์ที่เพาะขายแพร่หลายที่สุด ในเมืองไทย ผักโขมหนาม ใบสีเขียวใหญ่ ลักษณะเฉพาะตัว มีหนามที่ก้านและลำต้น ไม่ว่าจะเป็นผักโขมชนิดใด รสชาติคล้ายคลึงกัน (ผักพื้นบ้าน อาหารไทย, 2548, 74) ในที่นี้ขอกล่าวรายละเอียดของลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของผักโขมจีน ได้ดังนี้ (อรุณี วิเศษสุข และคณะ, 2542, 145) ต้น เป็นพืชล้มลุกฤดูเดียวลำต้นสีเขียว สูง 30 – 100 ซม. ลำต้นอวบน้ำสีเขียวอ่อนโคนต้นสีน้ำตาลแดง ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนรอบต้น ใบขนาดใหญ่กว้างประมาณ 7 ซม. ยาวประมาณ 10 ซม. รูปไข่กว้าง ปลายใบมนโคนใบป้าน ผิวเรียบหรือมีขนเล็กน้อย ขอบใบเรียบหลังเป็นคลื่นเล็กน้อย ดอก เป็นช่อยาวสีขาว ดอกช่อออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยเรียงตัวอัดแน่น เมล็ด ขนาดเล็ก กลมสีดำ
 
        
            แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ วิตามินซี เบต้าแคโรทีน (ผักพื้นบ้าน อาหารไทย, 2548, 74) ครัวไทย นิยมใช้ผักโขม เป็นผักต้มจิ้มน้ำพริก และใส่แกงจืด ผัดน้ำมัน และแกง ครัวจีนนิยมใช้ผักโขมปรุงแกงจืด หรือไม่ก็นิยมมาผัดกับกระเทียมและเครื่องปรุงอื่นๆ (ผักพื้นบ้าน อาหารไทย, 2548, 74)
        
คนไทยโบราณเชื่อว่าหญิงแม่ลูกอ่อนควรกินผักโขมเพื่อบำรุงน้ำนม (ผักพื้นบ้าน อาหารไทย, 2548, 74)

อรุณี วิเศษสุข และคณะ (2542, 144-149) กล่าวถึงคุณค่าทางยาของผักโขมทั้งสามชนิด ดังนี้

ผักโขมจีน หรือผักโหมจีน ทั้งต้น ดับพิษภายในและภายนอก แก้บิดมูกเลือด ริดสีดวงจมูก ริดสีดวงทวาร แก้ผื่นคัน แก้รำมะนาด รักษาฝีแผลพุพอง
ผักโขมหัด หรือผักโหมหัด แก้คันตามผิวหนัง ทำให้ผิวหนังอ่อนนุ่ม แก้พิษแมลงป่อง ขับปัสสาวะ แก้ไขแก้หวัด
ผักโขมหนาม หรือผักโหมหนาม ทั้งต้น แก้ตกเลือด แก้แน่นท้อง ขับน้ำ ขับปัสสาวะ ใบ ฟอกเลือด ฟอกแผล ราก ใช้รักษาอาการคันที่ผิวหนัง โดยการนำมาอาบ เป็นยาระบายสำหรับเด็ก ตำพอกปิดแผลที่เป็นหนอง แก้น้ำร้อนลวก

 
            ตลอดปี
 
 
            

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2550). ผักพื้นบ้าน. ค้นวันที่ 10 มิถุนายน 2550 จากhttp://singburi.doae.go.th/acri

ผักพื้นบ้าน อาหารไทย. (2548). กรุงเทพฯ: แสงแดด.

อรุณี วิเศษสุข และคณะ. (2542). ผักพื้นบ้านภาคใต้. บรรณาธิการ กัญจนา ดีวิเศษ. นนทบุรี: โครงการพัฒนาตำรา สถาบันการแพทย์แผนไทย มูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนา.