กระชาย


 
            หัวกะแอน หัวหละแอน (ภาคเหนือ) กะแอน ขิงทราย (มหาสารคาม) (จีรเดช มโนสร้อย และอรัญ มโนสร้อย, 2537) ขิงแดง ขิงทราย (อีสาน) (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 72) จี๊ปู ซีฟู (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) เป๊าะสี่ เป๊าซอเร้าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) กะชาย ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ) (จีรเดช มโนสร้อย และอรัญญา มโนสร้อย, 2537, 66)
 
            เป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 2-3 ฟุต มีกาบหุ้มใบหุ้มลำต้นตลอด ใบมีกลิ่นหอม ดอกช่อ สีม่วงแดง มีหง้า มีรากเก็บอาหาร แยกเป็นกระเปาะจากเหง้า เรียกว่า กระโปก หรือนมกระชาย กระชาย มี 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และกระชายเหลือง ที่นิยมทั่วไปคือ กระชายเหลือง ขยายพันธุ์ โดยการแยกหน่อ (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 72)
 
        
            กระชายมีรสเผ็ดร้อน ปละกลิ่นหอม ช่วยดับคาวได้ดี เหง้าของกระชายมีน้ำมันหอมระเหยที่มีกลิ่นหอม (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 202) มีคาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 (ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง, 2550, 28) ราก เอาไปทำน้ำยาขนมจีนแกง ลำต้นอ่อนเอามากินเป็นผักกับส้มตำ แกง เช่น แกงเลา แกงหน่อไม้ ซุปหน่อไม้ ชาวล้านนามักใช้ หัวละแอน เป็นเครื่องเคียงน้ำพริก (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 202) เป็นส่วนผสมเครื่องแกงข้าวซอย
        
เหง้าใช้แก้โรคในปาก ขับปัสสาวะ รักษาโรคบิด แก้ปวดมวนท้อง ขับระดูขาว (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2550)
ข้อบ่งใช้ทางเภสัชกรรมล้านนา เป็นองค์ประกอบในการรักษาโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ กลากเกลื้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ (จีรเดช มโนสร้อย และอรัญ มโนสร้อย, 2537, 66)
ข้อบ่งใช้ทางการแพทย์แผนปัจจุบัน-แผนไทย สารจากกระชายมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรย์ โดยได้ผลกับเชื้อแบคทีเรียดีกว่าเชื้อรา โดยเฉพาะ Bacillus subtilis แบคทีเรียในลำไส้และแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง น้ำมันหอมระเหย มีฤทธิ์ในการขับลม ช่วยให้กระเพาะและลำไส้เคลื่อนไหวตามปกติ และช่วยเจริญอาหาร (จีรเดช มโนสร้อย และอรัญ มโนสร้อย, 2537, 66)
 
            ตลอดปี
 
 
            

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2550). ผักพื้นบ้าน. ค้นวันที่ 10 มิถุนายน 2550 จากhttp://singburi.doae.go.th/acri

จีรเดช มโนสร้อย และอรัญญา มโนสร้อย. (2537). เภสัชกรรมล้านนา: ตำรับยาสมุนไพรล้านนา. กรุงเทพฯ : สถาบันการแพทย์แผนไทย, 2537.

ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง. (2550). กรุงเทพฯ: บริษัท ฟ้าอภัย จำกัด.

รัตนา พรหมพิชัย. (2542). กะแอน. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ (เล่ม 1, หน้า 202). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2540). สารานุกรมสมุนไพร: รวมหลักเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2540.